Regenerative Food System & Symbiotic Growth Workshop at Future Food Leader Summit 2025

4 ข้อเสนอสำคัญ พลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต! จาก Regenerative Food System & Symbiotic Growth Workshop

(จาก Future Food Leader Summit 2025 - 10 กุมภาพันธ์ 2568)

1. ประเด็นสำคัญที่ถูกอภิปรายในงานเวิร์คช็อป

1.1 การบูรณาการ Precision Fermentation และ Regenerative Food Production

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ คือ ศักยภาพของ Precision Fermentation ในการช่วยส่งเสริม การผลิตอาหารเชิงฟื้นฟู (Regenerative Food Production) เพื่อให้เกิดระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยมีแนวทางดังนี้:

-       ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและที่ดินทำกิน

  • ใช้วัตถุดิบหมุนเวียนจากเกษตรอินทรีย์และวัตถุดิบที่ใช้ทรัพยากรน้อย

  • ลดการพึ่งพาการทำปศุสัตว์และพืชเชิงเดี่ยวที่ต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกสูง เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพด

-       สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in Food Production)

  • นำของเหลือจากภาคเกษตร เช่น เยื่อใยพืช กากผลไม้ มาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับกระบวนการหมัก

  • ลดปริมาณของเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ Regenerative Farming

-       ยกระดับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารเชิงฟื้นฟู

  • ใช้ Precision Fermentation ในการผลิต Probiotic, Postbiotic, Functional Enzymes และ Essential Nutrients

  • พัฒนา Plant-Based Dairy & Alternative Proteins ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติใกล้เคียงผลิตภัณฑ์จากสัตว์

1.2 การส่งเสริม Good Governance & Responsible Sourcing

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ ระบบอาหารแห่งอนาคต ต้องอาศัยหลักการ บริหารจัดการที่โปร่งใสและการจัดหาอย่างมีจริยธรรม ทั้งในระดับรัฐบาลและองค์กรเอกชน

-       กำหนดมาตรฐาน Regenerative Food Certification

  • พัฒนามาตรฐานอาหารเชิงฟื้นฟูที่รับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • นำเทคโนโลยี Traceability & Blockchain-based Certification มาใช้ เพื่อความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน

-       ผลักดัน Green Procurement Policy ในภาคเอกชน

  • สนับสนุน Responsible Sourcing โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่ได้รับการรับรองจากระบบ Regenerative Agriculture และ Precision Fermentation

  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทข้ามชาติและเกษตรกรเพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

1.3 การส่งเสริม Responsible Consumption ในระดับผู้บริโภค

เพื่อสร้าง Demand สำหรับอาหารแห่งอนาคต จำเป็นต้อง กระตุ้นพฤติกรรมการบริโภคที่มีความรับผิดชอบ ผ่านการให้ความรู้และการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด การสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน

-       ให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของอาหารต่อสิ่งแวดล้อม

  • จัดทำแคมเปญ "Food Choices Matter" เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของระบบการผลิตอาหาร

  • ใช้ Eco-Labeling บนบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครู้ที่มาของผลิตภัณฑ์

-       ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ยั่งยืนผ่านโซเชียลมีเดีย

  • ใช้ Influencer Marketing & Brand Ambassadors ในการสร้างเทรนด์ Sustainable Eating

  • ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม e-commerce ทำให้ผลิตภัณฑ์ Regenerative & DeepTech Food เข้าถึงง่ายขึ้น

1.4  การบูรณาการ Future Food ในภาคการศึกษา

-       พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับ Future Food

  • รวมเนื้อหาเกี่ยวกับ Biotechnology, Food Innovation, Sustainability & Circular Economy ไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย

  • จัด Future Food Training สำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการรุ่นใหม่

-       สร้าง Future Food Innovation Hub

  • เปิดศูนย์เรียนรู้ที่นักเรียนและนิสิตสามารถสัมผัสเทคโนโลยี Precision Fermentation, AI-Driven Nutrition และ Regenerative Farming

 2. แนวทางปฏิบัติสำหรับนักลงทุนและภาครัฐ

1. ผลักดันการลงทุนใน Agri-Food DeepTech & Regenerative Food พร้อมมาตรการจูงใจ
2. ขับเคลื่อนแนวทาง Symbiotic Growth เพื่อส่งเสริมการเติบโต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม (Agri-Food Tech Business)
3. พัฒนากลยุทธ์ Responsible Sourcing & Circular Food Economy ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. ยกระดับภาคการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

‘การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอาหารแห่งอนาคตจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค

รายชื่อผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป

นักพัฒนาเทคโนโลยีอาหาร
(AI-driven Food, Synthetic Biology, Cell-based, Fermentation-based Protein)

  • คุณภณธกร วงศ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ศูนย์นวัตกรรมอาหาร (Foods Innovation Center) เครือเบทาโกร

  • คุณภีมเดช อุตสาหจิต ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมแบบเปิด ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

  • รศ.ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • คุณศิวัตตรา  Marketing Director บริษัท กริฟฟิต ฟู้ดส์ จำกัด

  • คุณจีรนันท์ New Business Development Lead บริษัท กริฟฟิต ฟู้ดส์ จำกัด

  • คุณวรัญญา Regional Regulatory บริษัท กริฟฟิทท์ ฟู้ดส์ จำกัด

  • คุณธิดาพร  Senior R&D Manager บริษัท กริฟฟิทท์ ฟู้ดส์ จำกัด

  • ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ทองพูน 88 จำกัด

  • คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท มิส ออร์กานิคส์

  • คุณอุมาพร บูรณสุขสมบัติ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เเข็งเเรงทุกวัน จำกัด

  • คุณก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานธุรกิจใหม่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (มหาชน)  

  • ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย ที่ปรึกษาบริษัท บริษัท วีแกนกัตกรีนฟู้ด จำกัด

  • คุณกมลเทพ คงประเสริฐ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เอส เอ็น เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ( มหาชน )

  • คุณกมลศรี ศรีวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไทยเบสท์โปรเจค จำกัด

  • คุณวลัยพันธ์ ออกกิจวัตร ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เดลี่ จอลลี่ จำกัด

  • คุณสุจิตรา สุทธิธาทิพย์   Chief Product Officer บริษัท อีซีไรซ์ ดิจิทัลบริษัท อีซีไรซ์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด

  • คุณศิริลักษณ์ มัทวกาญจน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท พี.เอฟ.พี เทรดดิ้ง จำกัด  

  • คุณกมลชนก อารีรัตน์ Manager Innovation & Sustainability บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)

  • คุณอรุณี แซ่ตั้ง Senior Manager หน่วยงาน R&D, Food Innovation บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)

  • คุณธัญชนก มีพลสม ผู้จัดการ MIC Lab                    

  • ตัวแทนแบรนด์ข้าวปลาวาฬ

  • คุณขวัญทอง ชุมนุมพร Operation Manager IFC 

ผู้บุกเบิกการผลิตอาหารระบบ Regenerative Practice
(เกษตรกรเชิงนิเวศ Regenerative, ผู้เชี่ยวชาญด้านดินและความหลากหลายทางชีวภาพ)

  • คุณพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ จำกัด

  • ดร.สุกัญญา เจริญศิลป์ เจ้าของกิจการวัชรพงษ์ฟาร์ม

  • คุณวัชรพงษ์ เตียวยืนยง เจ้าของกิจการวัชรพงษ์ฟาร์ม

  • คุณวานิชย์ วันทวี ผู้ก่อตั้ง ว.ทวีฟาร์ม

ผู้สนับสนุนระบบนิเวศเกษตร อาหาร
(นักลงทุน, ผู้กำหนดนโยบาย, ผู้เชี่ยวชาญซัพพลายเชน, นักกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน)

  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและโภชนาการองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สำนักงานใหญ่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี

  • คุณ Patsaraporn Lipikanjanakul ผู้จัดการอาวุโสการจัดหาและพัฒนาธุรกิจ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

  • คุณนิตยา นิมิตพรสุโข Head of Sustainability Central Retail (CFR)

  • กรรมการบริหาร บริษัท เจทิพย์ จำกัด

  • คุณสิทธิสิน ด่านหิรัญวัฒน์ ผู้จัดการ Homura บริษัท อินทรินซิก กรุ๊ป จำกัด

  • คุณจิรัตน์ ชนะ  ผู้ช่วยผู้จัดการ  Freshket

  • คุณ Wannadda Khorprasert  CEO Taste Catering 

ผู้ดำเนินการเวิร์คช็อป คุณสันติ อาภากาศ, TASTEBUD LAB, BIO BUDDY, FUTURE FOOD NETWORK

Previous
Previous

AI & Future Food Workshop at Future Food Leader Summit 2025

Next
Next

The Next Step for Alternative Proteins Towards a Sustainable Food Future